All posts by: jiraparn

About jiraparn

จากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้รับการนิยามในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 ตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้จากการทดสอบ โดยมาตรฐาน EN ISO 527-1 อธิบายประเภทของเส้นโค้งที่แตกต่างกันทั้งหมดสี่ประเภท (type a, b, c, d) ในขณะที่มาตรฐาน ASTM 638 ได้อธิบายไว้เป็น สามแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ซึ่งเราได้ทราบรายละเอียดของประเภทของเส้นกราฟชนิด a สำหรับวัสดุที่เปราะ (Curve type a for brittle materials) ไปแล้วในหัวข้อ curve type a ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c กันครับ   ประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c สำหรับวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) จุดคราก (yield point) ได้รับการอธิบายว่าเป็นจุดบนเส้นโค้งในการทดสอบที่มีค่าความชันเป็นศูนย์ พฤติกรรมนี้สามารถเห็นได้ในพลาสติกประเภท unfilled thermoplastics ในทางกายภาพจุดครากจะเกิดที่จุดความเค้นที่ห่วงโซ่โมเลกุลของพลาสติกเริ่มเลื่อนออกจากกันหรือมีการ flow […]

จุดคราก (yield point) ความเค้นสูงสุด (maximum stress) และการแตกหักของชิ้นงานตัวอย่าง (specimen break) โดยกราฟแบบ type a ตามมาตรฐาน EN ISO 527-1 และ ASTM D638 ในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 การประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้ถูกนิยามตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้ผลจากการทดสอบ โดยมาตรฐาน ISO 527-1 ได้อธิบายประเภทของเส้นกราฟที่แตกต่างกันสี่ประเภท ได้แก่ type a b, c, และ d ในขณะที่มาตรฐาน ASTM D638 ได้อธิบายชนิดกราฟไว้เป็นสองแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ประเภทของเส้นกราฟชนิด a ของวัสดุเปราะ (Curve type a for brittle materials) เส้นโค้งประเภทนี้ปกติมักจะเกิดขึ้นกับวัสดุประเภท Filled […]

โมดูลัสความยืดหยุ่นจะอธิบายความแกร่ง (Stiffness) ของพลาสติก โดยค่านี้จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เช่น ความเร็วของแรงกระทำ อุณหภูมิและประวัติของชิ้นงานตัวอย่าง และยังมีความสัมพันธ์กับความชันของกราฟเส้นโค้งของ ความเค้น ความเครียดด้วย เนื่องจากในพลาสติกหลายประเภท ความชันนี้ไม่ได้แสดงเป็นเส้นตรง ผลลัพธ์นี้จึงขึ้นอยู่กับว่าความเครียดตัวใดที่ได้รับการพิจารณา วิธีการของมาตรฐาน  ISO 527-1 ตำแหน่งของโมดูลัสความยืดหยุ่นได้รับการจัดทำเป็นมาตรฐานใน ISO 527-1 โดยทำการนิยามว่าค่าดังกล่าวนั้นจะได้รับการพิจารณาหาในช่วงระหว่างค่าการยืดตัวที่ 0.025 mm และ 0.125 mm ที่ Guage Length (L0) เท่ากับ 50 mm (ดังจะสังเกตได้จากรูปด้านล่างนี้) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าความเครียดของชิ้นงานตัวอย่างที่ 0.05% และ 0.25% ตามที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งการคำนวณหาค่าดังกล่าวสามารถทำได้ในลักษณะ เส้นตัด (Secant) ซึ่งเป็นการคำนวณในลักษณะระหว่างสองจุด หรือการคำนวณแบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) ที่จะนำจุดที่วัดทั้งหมดในพื้นที่มาพิจารณา โดยในมาตรฐาน ISO 527-1 แนะนำให้ใช้วิธี Linear Regression เพราะการทดสอบโดยเครื่องทดสอบที่ทันสมัยทำให้สามารถใช้ค่าทางสถิติมาช่วยในการคำนวนให้ผลทดสอบน่าเชื่อถือมากขึ้น   วิธีการของ ASTM […]

จากหัวข้อที่แล้วได้พูดถึงการสุ่มตัวอย่างเม็ดพลาสติกเพื่อทำการตรวจสอบ incoming material ด้วยวิธีตรวจสอบอัตราการหลอมไหลของพลาสติกจากเครื่องวัดอัตราการหลอมไหลหรือ Melt flow indexer ในส่วนของหัวข้อนี้เราจะดูการทดสอบแรงดึงด้วยเครื่อง (universal testing machine – UTM) เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ได้จากการนำเม็ดพลาสติกผ่านกระบวนการผลิตและออกมาเป็นเส้นเทปไปจนถึงการสานเป็นกระสอบ การทดสอบเส้นเทป หลังจากเม็ดพลาสติกผ่านกระบวนการผลิตออกมาเป็นเส้นเทปเล็กๆ แล้ว เราจะต้องนำชิ้นงานสุ่มมาเพื่อทดสอบแรงดึงของผลิตภัณฑ์ในขั้นนี้ด้วยครับจึงจะแน่ใจได้ว่าเครื่องผลิตเรายังอยู่สภาวะการผลิตที่ดีครับ โดยมาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทดสอบแรงดึงและระยะยืดของเส้นเทปคือ ISO 2062, DIN 538834 โดยขั้นตอนก่อนอื่นคือ– วัดขนาดเส้นเทป ด้วย scale magnifier และ thickness gauge เพื่อวัดขนาดความกว้างและความหนาของเทปตามลำดับ – Tap count โดยใช้ yarn reel และนำเทปที่หมุนได้ไปชั่งที่ yarn balance เพื่อวัดน้ำหนักและบันทึก – ทดสอบแรงดึงของเส้นเทปตามมาตรฐาน จะต้องเตรียมชิ้นงานให้มีระยะ free clamping หรือระยะห่างของตัวจับชิ้นงาน คือ 500 mm และใช้ความเร็วในการดึงอยู่ที่ 250 mm/min การทดสอบเส้นเทปนี้ค่าที่ต้องการคือ ค่าแรงสูงสุด, ค่าแรง cN/dtex, […]

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านในหัวข้อนี้เราจะมาดูข้อมูลเรื่องพารามิเตอร์สำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดความแข็งอย่างจริงจังให้เป็นไปตามพารามิเตอร์ที่บอกไว้ในมาตรฐาน ASTM D 2240 และ ISO 7619 โดยเราจะอ้างอิงจากใบรับรองการสอบเทียบที่ออกโดย ผู้ผลิตเครื่องวัดความแข็งยี่ห้อ Bareiss ซึ่งได้รับการรับรองจาก DAkks หรือ Deutschen Kalibrierdienst หรือย่อๆ ว่า DKD เรามาดูกันก่อนว่า DAkks คือใคร ? DAkkS เป็นหน่วยงานการรับระดับชาติสำหรับประเทศเยอรมนี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการในเรื่องของการให้รับรองแต่เพียงผู้เดียวในประเทศเยอรมนี ซึ่งในการรับรองนั้นมีทุกประเภทของอุตสาหกรรมรวมถึงการให้การรับรองห้อง Lab สำหรับทดสอบและห้องปฏิบัติการสำหรับสอบเทียบ โดยจะทำงานร่วมกันกับคณะร่างมาตรฐานของยุโรปคือ EN ISO ทำให้ความน่าเชื่อถือและความเคร่งครัดในเรื่องการให้การรับรองเครื่องมือนั้นถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูงมากเลยทีเดียว พารามิเตอร์สำหรับสอบเทียบ Shore A มีอะไรบ้าง ขนาดมิติของหัวเข็ม (Dimension) ตาม ASTM D 2240 และ ISO 7619 ตามมาตรฐานแล้วหัวเข็มของ Shore A จะต้องมีขนาดดังรูปอ้างอิง แน่นอนหากขนาดของหัวเข็มผิดไปต้องส่งผลกระทบกับค่าการทดสอบ โดยทั่วไปแล้วหัวเข็ม Shore A จะไม่หักแต่จะถูกบี้เข้าไปด้านในทำให้ด้านที่เป็นคางหมูนั้นมีขนาดผิดเพี้ยนไป ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือหากว่าเราใช้เครื่องวัดที่ความแข็งสูงมาก 80 – 100 […]

การทดสอบแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงหรือเครื่อง Universal Testing Machine (UTM) ปกติแล้วจะมีการวัดค่าที่สนใจกันมากคือ ค่าแรงดึง (force) เช่น แรงดึงสูงสุด (maximum force), แรงดึงที่จุด yield, แรงดึงที่จุดขาด (breaking force) เป็นต้น และค่าระยะยืดหรือ elongation เช่น ค่าโมดูลัส (young’s modulus), ระยะยืดที่จุด yield, ระยะยืดที่จุดขาด, และระยะยึดที่จุดใดๆ แต่เนื่องจากชิ้นงานแต่ละชิ้นทำจากวัสดุที่แตกต่างกันบ้างเป็นเหล็ก พลาสติก ยาง คอมโพสิต ทำให้คุณสมบัติของชิ้นงานแตกต่างไป และคุณสมบัติการยืดหยุ่นก็แต่ต่างด้วยเช่น ยืดมาก (ยาง) ยืดน้อยมากๆ (เหล็กกล้า) ดังนั้นแล้วการเลือกอุปกรณ์ในการวัดระยะยืด (extensometer) นั้นสำคัญที่ความละเอียดและช่วงในการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดของลักษณะชิ้นงานด้วย ทั้งนั้นแล้วบริษัทฯ เราและ Zwick/Roell มีทางออกให้กับการทดสอบของลูกค้าด้วย Extensometers ที่มีความหลากหลายพร้อมทั้งความละเอียดที่น่าทึ่งสำหรับตอบสนองการทดสอบแบบง่ายจนถึงซับซ้อนมาก อุปกรณ์วัดระยะยืดแบบสัมผัส contact extensometer Extensometer ชนิดนี้จะทำการวัดโดยจับที่ชิ้นงานทดสอบด้วยระยะ  gauge length […]

การประชุมวิชาการ การวัดแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 (NMS 2016) ถูกจัดขึ้นครั้งนี้เป็นปีแรก โดยฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกลเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายด้านมาตรวิทยา วัตถุประสงค์ของการจัดงานประชุมครั้งนี้ เพื่อให้มีเวทีในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ทางการวัด ระหว่างบุคลากรของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ บุคลากรของภาคการศึกษา และบุคลากรของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ สาขาการวัดที่เกี่ยวข้องในการประชุมครั้งนี้ เน้นในส่วนของมาตรวิทยาเชิงกลเป็นหลัก อันได้แก่ มวล ความหนาแน่น แรง แรงบิด ความแข็ง ความดัน สุญญากาศ การไหล และแรงโน้มถ่วงโลก นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมในสาขาการวัดเรื่องการสั่นสะเทือน และการวัดทางด้านมิติ สถานที่จัดการประชุม วันที่ 1 – 2 กันยายน 2559 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) 3/4 – 5 หมู่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ประเทศไทย ติดต่อสอบถาม นายทัศนัย แสนพลพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการความแข็ง และห้องปฏิบัติการแรงบิด หัวหน้าคณะทำงาน NMS 2016 โทรศัพท์ 02-577-5100 […]

การทดสอบการไหลของพลาสติกสำหรับถุงกระสอบสาน ในกระบวนการผลิตถุงกระสอบสานนั้นมีขั้นตอนย่อยๆ หลายกระบวนการซึ่งได้แก่ การคัดเลือกเม็ดพลาสติกและการผสมเม็ดพลาสติก, การผลิตเส้นเทป, การทอหรือสานกระสอบ, การเคลือบกระสอบ, การพิมพ์, และการตัดเย็บ ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้จะมีการควบคุมคุณภาพอยู่ในตัวของมันเอง ดังนั้นแล้วเราจะเข้ามาดูว่าการควบคุณคุณภาพอะไรที่เกี่ยวข้องกับเครื่อง Universal Testing Machine และ Melt Flow Indexer บ้าง เรื่องของกระบวนการของการคัดเลือกเม็ดพลาสติกและการผสมสีต่างๆ ในส่วนกระบวนการนี้การควบคุมคุณภาพที่ใช้กันแพร่หลายคือเครื่องทดสอบการหลอมไหลของพลาสติก (Melt Flow Indexer) โดยเมื่อผู้ผลิตได้รับเม็ดพลาสติกที่ผสมแล้วพร้อมค่าทดสอบที่ได้จากผู้ผลิตเม็ดพลาสติก วิธีการตรวจสอบคุณภาพคือ ทำการตรวจสอบความชื้นของพลาสติกก่อน จากนั้นจึงคัดนำตัวอย่างไปทดสอบอัตราการหลอมไหลของพลาสติกด้วยเครื่อง Melt Flow Indexer โดยมาตรฐานการทดสอบที่เกี่ยวข้องคือ ISO 1133, JIS K 7210, ASTM D 1238 และ ASTM D 3364 สำหรับพลาสติกชนิด PVC ซึ่งการทดสอบ Melt Flow แบ่งออกเป็นหลาย Method ดังนี้   การทดสอบ melt flow […]

Fatigue strength testing: the correct drive technology for every testing application Durable component design has always been a vital issue in the aerospace and automotive industries. One driving factor in these sectors in recent years, indeed decades, has been lightweight construction; safety and life expectancy are critical design elements here. The same approach is naturally […]

  • 1
  • 2