การทดสอบพลาสติกตามมาตรฐาน

Yield point in curve type b and c

จากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้รับการนิยามในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 ตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้จากการทดสอบ โดยมาตรฐาน EN ISO 527-1 อธิบายประเภทของเส้นโค้งที่แตกต่างกันทั้งหมดสี่ประเภท (type a, b, c, d) ในขณะที่มาตรฐาน ASTM 638 ได้อธิบายไว้เป็น สามแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ซึ่งเราได้ทราบรายละเอียดของประเภทของเส้นกราฟชนิด a สำหรับวัสดุที่เปราะ (Curve type a for brittle materials) ไปแล้วในหัวข้อ curve type a ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c กันครับ   ประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c สำหรับวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) จุดคราก (yield point) ได้รับการอธิบายว่าเป็นจุดบนเส้นโค้งในการทดสอบที่มีค่าความชันเป็นศูนย์ พฤติกรรมนี้สามารถเห็นได้ในพลาสติกประเภท unfilled thermoplastics ในทางกายภาพจุดครากจะเกิดที่จุดความเค้นที่ห่วงโซ่โมเลกุลของพลาสติกเริ่มเลื่อนออกจากกันหรือมีการ flow […]

กราฟลักษณะการเสียหายของพลาสติก type a

จุดคราก (yield point) ความเค้นสูงสุด (maximum stress) และการแตกหักของชิ้นงานตัวอย่าง (specimen break) โดยกราฟแบบ type a ตามมาตรฐาน EN ISO 527-1 และ ASTM D638 ในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 การประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้ถูกนิยามตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้ผลจากการทดสอบ โดยมาตรฐาน ISO 527-1 ได้อธิบายประเภทของเส้นกราฟที่แตกต่างกันสี่ประเภท ได้แก่ type a b, c, และ d ในขณะที่มาตรฐาน ASTM D638 ได้อธิบายชนิดกราฟไว้เป็นสองแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ประเภทของเส้นกราฟชนิด a ของวัสดุเปราะ (Curve type a for brittle materials) เส้นโค้งประเภทนี้ปกติมักจะเกิดขึ้นกับวัสดุประเภท Filled […]

โมดูลัสความยืดหยุ่นจะอธิบายความแกร่ง (Stiffness) ของพลาสติก โดยค่านี้จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เช่น ความเร็วของแรงกระทำ อุณหภูมิและประวัติของชิ้นงานตัวอย่าง และยังมีความสัมพันธ์กับความชันของกราฟเส้นโค้งของ ความเค้น ความเครียดด้วย เนื่องจากในพลาสติกหลายประเภท ความชันนี้ไม่ได้แสดงเป็นเส้นตรง ผลลัพธ์นี้จึงขึ้นอยู่กับว่าความเครียดตัวใดที่ได้รับการพิจารณา วิธีการของมาตรฐาน  ISO 527-1 ตำแหน่งของโมดูลัสความยืดหยุ่นได้รับการจัดทำเป็นมาตรฐานใน ISO 527-1 โดยทำการนิยามว่าค่าดังกล่าวนั้นจะได้รับการพิจารณาหาในช่วงระหว่างค่าการยืดตัวที่ 0.025 mm และ 0.125 mm ที่ Guage Length (L0) เท่ากับ 50 mm (ดังจะสังเกตได้จากรูปด้านล่างนี้) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าความเครียดของชิ้นงานตัวอย่างที่ 0.05% และ 0.25% ตามที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งการคำนวณหาค่าดังกล่าวสามารถทำได้ในลักษณะ เส้นตัด (Secant) ซึ่งเป็นการคำนวณในลักษณะระหว่างสองจุด หรือการคำนวณแบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) ที่จะนำจุดที่วัดทั้งหมดในพื้นที่มาพิจารณา โดยในมาตรฐาน ISO 527-1 แนะนำให้ใช้วิธี Linear Regression เพราะการทดสอบโดยเครื่องทดสอบที่ทันสมัยทำให้สามารถใช้ค่าทางสถิติมาช่วยในการคำนวนให้ผลทดสอบน่าเชื่อถือมากขึ้น   วิธีการของ ASTM […]