คลังความรู้

Yield point in curve type b and c

จากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้รับการนิยามในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 ตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้จากการทดสอบ โดยมาตรฐาน EN ISO 527-1 อธิบายประเภทของเส้นโค้งที่แตกต่างกันทั้งหมดสี่ประเภท (type a, b, c, d) ในขณะที่มาตรฐาน ASTM 638 ได้อธิบายไว้เป็น สามแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ซึ่งเราได้ทราบรายละเอียดของประเภทของเส้นกราฟชนิด a สำหรับวัสดุที่เปราะ (Curve type a for brittle materials) ไปแล้วในหัวข้อ curve type a ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c กันครับ   ประเภทของเส้นกราฟชนิด b และ c สำหรับวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) จุดคราก (yield point) ได้รับการอธิบายว่าเป็นจุดบนเส้นโค้งในการทดสอบที่มีค่าความชันเป็นศูนย์ พฤติกรรมนี้สามารถเห็นได้ในพลาสติกประเภท unfilled thermoplastics ในทางกายภาพจุดครากจะเกิดที่จุดความเค้นที่ห่วงโซ่โมเลกุลของพลาสติกเริ่มเลื่อนออกจากกันหรือมีการ flow […]

กราฟลักษณะการเสียหายของพลาสติก type a

จุดคราก (yield point) ความเค้นสูงสุด (maximum stress) และการแตกหักของชิ้นงานตัวอย่าง (specimen break) โดยกราฟแบบ type a ตามมาตรฐาน EN ISO 527-1 และ ASTM D638 ในมาตรฐาน EN ISO 527-1 และมาตรฐาน  ASTM D638 การประเมินคุณสมบัติการเสียหายของวัสดุได้ถูกนิยามตามลักษณะของเส้นกราฟที่ได้ผลจากการทดสอบ โดยมาตรฐาน ISO 527-1 ได้อธิบายประเภทของเส้นกราฟที่แตกต่างกันสี่ประเภท ได้แก่ type a b, c, และ d ในขณะที่มาตรฐาน ASTM D638 ได้อธิบายชนิดกราฟไว้เป็นสองแบบคือวัสดุที่มีจุดคราก (yield point) กับวัสดุที่ไม่มีจุดคราก ประเภทของเส้นกราฟชนิด a ของวัสดุเปราะ (Curve type a for brittle materials) เส้นโค้งประเภทนี้ปกติมักจะเกิดขึ้นกับวัสดุประเภท Filled […]

โมดูลัสความยืดหยุ่นจะอธิบายความแกร่ง (Stiffness) ของพลาสติก โดยค่านี้จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เช่น ความเร็วของแรงกระทำ อุณหภูมิและประวัติของชิ้นงานตัวอย่าง และยังมีความสัมพันธ์กับความชันของกราฟเส้นโค้งของ ความเค้น ความเครียดด้วย เนื่องจากในพลาสติกหลายประเภท ความชันนี้ไม่ได้แสดงเป็นเส้นตรง ผลลัพธ์นี้จึงขึ้นอยู่กับว่าความเครียดตัวใดที่ได้รับการพิจารณา วิธีการของมาตรฐาน  ISO 527-1 ตำแหน่งของโมดูลัสความยืดหยุ่นได้รับการจัดทำเป็นมาตรฐานใน ISO 527-1 โดยทำการนิยามว่าค่าดังกล่าวนั้นจะได้รับการพิจารณาหาในช่วงระหว่างค่าการยืดตัวที่ 0.025 mm และ 0.125 mm ที่ Guage Length (L0) เท่ากับ 50 mm (ดังจะสังเกตได้จากรูปด้านล่างนี้) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าความเครียดของชิ้นงานตัวอย่างที่ 0.05% และ 0.25% ตามที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งการคำนวณหาค่าดังกล่าวสามารถทำได้ในลักษณะ เส้นตัด (Secant) ซึ่งเป็นการคำนวณในลักษณะระหว่างสองจุด หรือการคำนวณแบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) ที่จะนำจุดที่วัดทั้งหมดในพื้นที่มาพิจารณา โดยในมาตรฐาน ISO 527-1 แนะนำให้ใช้วิธี Linear Regression เพราะการทดสอบโดยเครื่องทดสอบที่ทันสมัยทำให้สามารถใช้ค่าทางสถิติมาช่วยในการคำนวนให้ผลทดสอบน่าเชื่อถือมากขึ้น   วิธีการของ ASTM […]

จากหัวข้อที่แล้วได้พูดถึงการสุ่มตัวอย่างเม็ดพลาสติกเพื่อทำการตรวจสอบ incoming material ด้วยวิธีตรวจสอบอัตราการหลอมไหลของพลาสติกจากเครื่องวัดอัตราการหลอมไหลหรือ Melt flow indexer ในส่วนของหัวข้อนี้เราจะดูการทดสอบแรงดึงด้วยเครื่อง (universal testing machine – UTM) เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ได้จากการนำเม็ดพลาสติกผ่านกระบวนการผลิตและออกมาเป็นเส้นเทปไปจนถึงการสานเป็นกระสอบ การทดสอบเส้นเทป หลังจากเม็ดพลาสติกผ่านกระบวนการผลิตออกมาเป็นเส้นเทปเล็กๆ แล้ว เราจะต้องนำชิ้นงานสุ่มมาเพื่อทดสอบแรงดึงของผลิตภัณฑ์ในขั้นนี้ด้วยครับจึงจะแน่ใจได้ว่าเครื่องผลิตเรายังอยู่สภาวะการผลิตที่ดีครับ โดยมาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทดสอบแรงดึงและระยะยืดของเส้นเทปคือ ISO 2062, DIN 538834 โดยขั้นตอนก่อนอื่นคือ– วัดขนาดเส้นเทป ด้วย scale magnifier และ thickness gauge เพื่อวัดขนาดความกว้างและความหนาของเทปตามลำดับ – Tap count โดยใช้ yarn reel และนำเทปที่หมุนได้ไปชั่งที่ yarn balance เพื่อวัดน้ำหนักและบันทึก – ทดสอบแรงดึงของเส้นเทปตามมาตรฐาน จะต้องเตรียมชิ้นงานให้มีระยะ free clamping หรือระยะห่างของตัวจับชิ้นงาน คือ 500 mm และใช้ความเร็วในการดึงอยู่ที่ 250 mm/min การทดสอบเส้นเทปนี้ค่าที่ต้องการคือ ค่าแรงสูงสุด, ค่าแรง cN/dtex, […]

Indenter Dimension Shore A

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านในหัวข้อนี้เราจะมาดูข้อมูลเรื่องพารามิเตอร์สำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดความแข็งอย่างจริงจังให้เป็นไปตามพารามิเตอร์ที่บอกไว้ในมาตรฐาน ASTM D 2240 และ ISO 7619 โดยเราจะอ้างอิงจากใบรับรองการสอบเทียบที่ออกโดย ผู้ผลิตเครื่องวัดความแข็งยี่ห้อ Bareiss ซึ่งได้รับการรับรองจาก DAkks หรือ Deutschen Kalibrierdienst หรือย่อๆ ว่า DKD เรามาดูกันก่อนว่า DAkks คือใคร ? DAkkS เป็นหน่วยงานการรับระดับชาติสำหรับประเทศเยอรมนี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการในเรื่องของการให้รับรองแต่เพียงผู้เดียวในประเทศเยอรมนี ซึ่งในการรับรองนั้นมีทุกประเภทของอุตสาหกรรมรวมถึงการให้การรับรองห้อง Lab สำหรับทดสอบและห้องปฏิบัติการสำหรับสอบเทียบ โดยจะทำงานร่วมกันกับคณะร่างมาตรฐานของยุโรปคือ EN ISO ทำให้ความน่าเชื่อถือและความเคร่งครัดในเรื่องการให้การรับรองเครื่องมือนั้นถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูงมากเลยทีเดียว พารามิเตอร์สำหรับสอบเทียบ Shore A มีอะไรบ้าง ขนาดมิติของหัวเข็ม (Dimension) ตาม ASTM D 2240 และ ISO 7619 ตามมาตรฐานแล้วหัวเข็มของ Shore A จะต้องมีขนาดดังรูปอ้างอิง แน่นอนหากขนาดของหัวเข็มผิดไปต้องส่งผลกระทบกับค่าการทดสอบ โดยทั่วไปแล้วหัวเข็ม Shore A จะไม่หักแต่จะถูกบี้เข้าไปด้านในทำให้ด้านที่เป็นคางหมูนั้นมีขนาดผิดเพี้ยนไป ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือหากว่าเราใช้เครื่องวัดที่ความแข็งสูงมาก 80 – 100 […]

extensometer กับชนิดของ meterial

การทดสอบแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงหรือเครื่อง Universal Testing Machine (UTM) ปกติแล้วจะมีการวัดค่าที่สนใจกันมากคือ ค่าแรงดึง (force) เช่น แรงดึงสูงสุด (maximum force), แรงดึงที่จุด yield, แรงดึงที่จุดขาด (breaking force) เป็นต้น และค่าระยะยืดหรือ elongation เช่น ค่าโมดูลัส (young’s modulus), ระยะยืดที่จุด yield, ระยะยืดที่จุดขาด, และระยะยึดที่จุดใดๆ แต่เนื่องจากชิ้นงานแต่ละชิ้นทำจากวัสดุที่แตกต่างกันบ้างเป็นเหล็ก พลาสติก ยาง คอมโพสิต ทำให้คุณสมบัติของชิ้นงานแตกต่างไป และคุณสมบัติการยืดหยุ่นก็แต่ต่างด้วยเช่น ยืดมาก (ยาง) ยืดน้อยมากๆ (เหล็กกล้า) ดังนั้นแล้วการเลือกอุปกรณ์ในการวัดระยะยืด (extensometer) นั้นสำคัญที่ความละเอียดและช่วงในการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดของลักษณะชิ้นงานด้วย ทั้งนั้นแล้วบริษัทฯ เราและ Zwick/Roell มีทางออกให้กับการทดสอบของลูกค้าด้วย Extensometers ที่มีความหลากหลายพร้อมทั้งความละเอียดที่น่าทึ่งสำหรับตอบสนองการทดสอบแบบง่ายจนถึงซับซ้อนมาก อุปกรณ์วัดระยะยืดแบบสัมผัส contact extensometer Extensometer ชนิดนี้จะทำการวัดโดยจับที่ชิ้นงานทดสอบด้วยระยะ  gauge length […]

เครื่องดทสอบการไหลของพลาสติก

การทดสอบการไหลของพลาสติกสำหรับถุงกระสอบสาน ในกระบวนการผลิตถุงกระสอบสานนั้นมีขั้นตอนย่อยๆ หลายกระบวนการซึ่งได้แก่ การคัดเลือกเม็ดพลาสติกและการผสมเม็ดพลาสติก, การผลิตเส้นเทป, การทอหรือสานกระสอบ, การเคลือบกระสอบ, การพิมพ์, และการตัดเย็บ ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้จะมีการควบคุมคุณภาพอยู่ในตัวของมันเอง ดังนั้นแล้วเราจะเข้ามาดูว่าการควบคุณคุณภาพอะไรที่เกี่ยวข้องกับเครื่อง Universal Testing Machine และ Melt Flow Indexer บ้าง เรื่องของกระบวนการของการคัดเลือกเม็ดพลาสติกและการผสมสีต่างๆ ในส่วนกระบวนการนี้การควบคุมคุณภาพที่ใช้กันแพร่หลายคือเครื่องทดสอบการหลอมไหลของพลาสติก (Melt Flow Indexer) โดยเมื่อผู้ผลิตได้รับเม็ดพลาสติกที่ผสมแล้วพร้อมค่าทดสอบที่ได้จากผู้ผลิตเม็ดพลาสติก วิธีการตรวจสอบคุณภาพคือ ทำการตรวจสอบความชื้นของพลาสติกก่อน จากนั้นจึงคัดนำตัวอย่างไปทดสอบอัตราการหลอมไหลของพลาสติกด้วยเครื่อง Melt Flow Indexer โดยมาตรฐานการทดสอบที่เกี่ยวข้องคือ ISO 1133, JIS K 7210, ASTM D 1238 และ ASTM D 3364 สำหรับพลาสติกชนิด PVC ซึ่งการทดสอบ Melt Flow แบ่งออกเป็นหลาย Method ดังนี้   การทดสอบ melt flow […]

เครื่อง dynamic fatigue testing

Fatigue strength testing: the correct drive technology for every testing application Durable component design has always been a vital issue in the aerospace and automotive industries. One driving factor in these sectors in recent years, indeed decades, has been lightweight construction; safety and life expectancy are critical design elements here. The same approach is naturally […]

Servo Hydraulic

  The Materials Technology and Fatigue Strength Laboratory (LWB) of Kempten University of Applied Sciences (Germany) is involved in numerous research projects in the field of casting technology. Focus areas are the automotive and energy sectors, together with plant engineering. As well as contract testing (tensile, hardness and notch impact tests, metallurgical analyses etc.), the […]

  • 1
  • 2